Mukmik Space

Just another WordPress.com site

เค้าว่ากันว่า กรุงเทพ จะจมน้ำ

บน ตุลาคม 31, 2011

เค้าว่ากันว่า อย่างนี้ ….  กรุงเทพจะจมอยู่กับน้ำ นับเดือน 

ตอนเฝ้าข่าว ดูเหตุการณ์

                               ประโยคนี้ เราคงยังไม่เชื่อ เมื่อหลายเดือนก่อน  เพราะชั่วชีวิตที่เกิดมา เราไม่เคยเจอ  แต่ใช่ว่า กรุงเทพ  จะไม่เคยเจอน้ำท่วมซะเมือ่ไหร่

 

จากข้อมูลที่หาได้ จาก internet  ขอบคุณข้อมูล จากhttp://news.mthai.com/hot-news/91302.html  พบกว่า 

ที่ผ่านมาพระนครบางกอกหรือกรุงเทพฯ เคยประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งที่เลวร้ายที่สุดน่าจะเป็นปี น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 โดยครั้งนั้น น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆฯ ในกรุงเทพฯ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

โดยมีภาพถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน และถูกเผยแพร่ตามอินเทอร์เน็จมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมี น้ำท่วม กรุงเทพฯเกิดขึ้นอีกหลายครั้งต่อจากนั้น คือ

น้ำท่วม พ.ศ.2518 เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ “เบส” และ “คิท” พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2523 เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับ สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

นํ้าท่วม พ.ศ. 2526 จากอิทธิพลของฝนและนํ้าเหนือที่ไหลลงมา ทำให้กรุงเทพฯต้องตกอยู่ในสภาพนํ้าท่วมสูงกว่า1 เมตรนานหลายเดือน

น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

น้ำท่วม พ.ศ. 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน “อีรา” และ “โลล่า” พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม.

น้ำท่วม พ.ศ. 2537 ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหา นคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.

นํ้าท่วมปี 2549 เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และปทุมธานี รวมประมาณ 1.38 ล้านไร่ ต่อมาจังหวัดดังกล่าวไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 เมตร นานกว่าสัปดาห์

             ….. และในตอนนั้นเอง  เราก็ยังไม่ได้มาอยู่กรุงเทพ ….. มันสิบกว่าปีมาแล้ว 

ณ ตอนนี้  นั่งอยู่ริมกระจกห้องนอน  บนคนโด  ด้วยความสูง ของชั้น 12 เราพอจะมองอะไร ไปไกล ๆๆ ได้ ณ  ที่นี่เอง ทุกสิ่งยังดำเนินไปอย่างปกติ

ฉัน ยังเห็นทางด่วน ที่มีดวงไฟระยิบระยับ  ทอดไปทางแนวยาวของถนน  ยังมองเห็นไฟในตัวอาคาร ของสนง.ให้เช่า ห้างร้าน  และ คนโดต่าง ๆบน ถนนย่านนี้ 

 รัชดา เป็นสถานที่แห่งหนึ่ง ที่น้ำยังมาไม่ถึง  ในบรรดาหลาย จุดของกรุงเทพชั้นใน   กว่าสองเดือนแล้ว ที่นั่งมอง ข่าวทิศทางการไหลของสายชล ก้อนมหึมาของปีนี้ไหลผ่าน ตัวจังหวัดต่าง ๆๆ เข้ามา ลำดับแรก ๆ ที่เป็นข่าวใหญ่โต เห็นจะไม่พ้น อยุุธยา  ในทีสุด  ก็เป็นเมืองบาดาล ไป 100 เปอร์เซน  ไม่ว่าจะเป็น ข่าวจากการรีทวิช  มาจากทวิชเตอร์ ของเพื่อน ๆๆ ไม่ว่า จะเป็นเฟสบุ๊ค หรือ ข่าวคราว จากเพื่อน ๆๆ พี่ ๆๆ ในพื้นที่เองก็ตาม   ยอมรับว่า เสพข่าว มากที่สุด มากกว่าเหตุการไฟไหม้และจลาจล ในกรุงเทพเมื่อปีที่แล้วเสียอีก   มากเสียจน ไม่รู้ว่า จะเชื่ออะไร ทางไหน   ที่สุด ก็ต้องใช้สติ ละค่ะ  เรื่มจากการเก็บข้อมูล ดูสถานที่ตั้ง ของที่อาศัย ดูว่าที่เราอยู่นั้น ล้อมรอบด้วยเขตอะไรบ้าง  ดูว่า น้ำมาทางไหนได้บ้าง แล้ว ก็มาดูว่าคอนโด ที่อยู่ หาก น้ำท่วมเข้าจริง ๆ มีมาตราการอะไร รองรับ ให้กับผู้อยู่อาศัยได้บ้าง  ส่วนต่อมาคือ ของบริษัท  มีมาตราการอะไรรองรับให้กับพนักงาน ของเค้าบ้าง  เอาละทีนี้ ก็ไม่ต้องกังวลละ มาก็มา  แล้วเราจะได้ไปถูก

และนี่ก็เป็นอีกภาพ ภาพนึงที่ทำให้ประโยคที่กล่าวนั้น น่าจะเป็นจริงในไม่ช้า

ปัจจุบัน นครสวรรค์ อ่างทอง  อยุธยา นนทบุรี  ปทุมธานี  แล้ว ยังฝั่งธนบุรี อีก  ได้จมอยู่ในน้ำทั้งหมด แล้ว ด้วยความสูงของ น้ำ 1-3 เมตร ทั้งสิ้น  นิคมอุตสาหกรรม  ได้จมอยู่ใต้น้ำนับ สิบ นับร้อย โรงงาน คนงาน ว่าง งาน นับหมื่น นับแสน พืนที่เกษตร  พืชสวนไร่นา ไม่ต้องพูดถึง  แล้วประชาชนไรที่อยู่อีกละ   ถึงมันไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวแต่อย่างไร แต่ เรื่องเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบแล้ว ในตอนนี้   ข้าวของขาดแคลน  ราคาของสูงขี้น สุขาภาพจิต  อีก ไหนยังข่าว การกั๊ก การฉวยโอกาศ ซี่งมีขอมูลโผล่มาให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ในเนท ในข่าว อีก  …..  น่าปวดหัวสิ้นดี ……  อยากบอกทุกคนว่า อย่ารอ  ทำอะไรได้ทำไป ปกป้องได้แค่ไหนให้ทำ  หนีได้หนี มา เมื่อถึงคราวที่ออกมาไม่ได้แล้ว ให้รอ เรือไปรับ ลำบากยิ่งนัก  ………………………… เราเป็นคนหนึ่งที่ช่วยเรื่องรับเรื่องร้องทุกข์ ผ่าน ……  ได้รับรู้ว่า บางคนขอความช่วยเหลือ  ไปแล้ว ไม่ต่ำกว่า 5 วัน ยังไม่มีใครสามารถไปรับออกมาได้เลย แต่เราเชื่อ นะว่า เค้าไม่ได้ไม่ช่วย แต่มันคงไม่ทัน จริง ๆๆ

 


7 responses to “เค้าว่ากันว่า กรุงเทพ จะจมน้ำ

  1. เจ้าหงิญ O_o พูดว่า:

    เห้อ…ส่งปลาวาฬกลับบ้านกัน ^^

  2. Mukmik พูดว่า:

    วิธีตรวจสอบว่าบ้านเราจะโดนน้ำท่วมหรือไม่?
    เกร็ดความรู้
    Hot!! *** วิธีตรวจสอบว่าบ้านเราจะโดนน้ำท่วมหรือไม่?
    ประการแรก เข้าไปที่ลิงค์นี้ก่อน
    http://flood.firetree.net/?ll= 16.3412%2C97.3388&z=12&m=7

    สามารถวัดระดับพื้นที่บ้านเราว่าสูงกว่าระดับน้ำทะเลกี่เมตร ในเหตุการณ์น้ำท่วมคราวนี้ ทางนาซ่าประมาณว่าจะท่วม ประมาณ 5 เมตร ดังนั้น หากบ้านใครสูงกว่าระดับน้ำทะเล 5 เมตร โอกาสที่น้ำจะท่วมล้อรถก็น้อยมาก…
    1. เลื่อนหาแผนที่ประเทศไทย ซูมเข้าไปจนกว่าจะเห็นที่ตั้งบ้านเรา เช่น หมู่บ้าน ซอยแยก
    2. เติมน้ำลงไปที่ระดับ =5+ (ช่องบนด้านซ้าย) ดูที่บ้านเราเเละบริเวณรอบๆ ว่ามีสีน้ำเงินไหม หากมีเเสดงว่าท่วม
    3. ต่อไปจะดูว่าท่วมสูงเท่าไหร่ (ดูว่าบริเวณบ้านเราอยู่ระดับน้ำทะเลที่เท่าไหร่) โดยลองลดระดับน้ำลง เช่น 4+ 3+ 2+ จนกว่าจะไม่มีสีน้ำเงิน ครั้งเเรกที่ไม่มีสีน้ำเงิน นั่นคือระดับพื้นดินที่บ้านเราสูงกว่า น้ำทะเลโดยประมาณ เนื่องจากนาซ่าทำให้แสดงเป็นค่า โดยประมาณที่ระยะสูงต่างกัน 1 เมตร
    4. ใส่ 7+ พื้นที่ไหนที่เป็นสีขาว แสดงว่าสูงกว่าระดับน้ำทะเล 7 เมตร เป็นจุดที่น้ำไม่ท่วมแน่นอน นำรถไปจอดได้ หากจอดพื้นที่ที่ 5+ น้ำก็จะประมาณล้อ
    สรุป: +5 +6 +7 คือ ประมาณการความสูงของน้ำที่จะท่วม พื้นที่สีน้ำเงิน = ท่วม
    ให้ลองเช็คตั้งแต่ +5 ขึ้นไป
    credit: วรวรรณ ธาราภูมิ

  3. Mukmik พูดว่า:

    จากวันนั้น ถึงวันนี้ ผืนน้ำ จากฝั่ง ตะวันออก กำลัง เชื่อม ไปยังฝั่ง ตะวันตก เข้าไปทุกที ทุกที
    ฉัน… อยู่ ตรงกลาง สินะ มอง ง่าย ๆๆ เหมือน อยู่เกาะเลย ตอนนี้ น้ำเข้ามาถึงลาดพร้าวแล้ว อินทมร ก็จมไปแล้ว cell site ของเครือข่าย..มีปัญหา ถึง 56 จุด แต่ไมได้หมายความว่า จะใช้ไม่ได้ นะ แค่ใช้งาน ได้ยาก เราพยายามอยู่ค่ะ . อิอิ…… โดยไล่เลียง มาจาก ดอนเมือง เกษตร หลักสี่ บางเขน จตุจักร ลาดพร้าว ล่าสุด ก็อินทมระ ที่ห้วยขวางแล้ว ใกล้เราเต็มทน .. อีกนิดเดียวไม่กี่กิโลเท่าไหน หวังว่ามาตรตราการต่าง ๆๆที่ ทั้ง รํฐบาล และ กทม. มีนั้น จะช่วย ให้ เหลือ พื้นที่แห้ง ไว้ได้ … บนท้อง ถนนและบ้านเรือน เต็มไปด้วย ความว่าง เงียบ มันเหมือนยุกสงครามย่อย ๆๆ เลยทีเดียว น้ำขาดแคลน อาหารไม่มีกิน เดินทางไม่ได้ ลำบาก โอววววว โดนน้ำโจมตีประชิตเมือง แล้วววว เราจะต้องเสียกรุง ให้กับน้ำ จิง ๆๆ หรือ .

  4. pongroofman พูดว่า:

    โชคดีปีนี้ไม่เจอ

ส่งความเห็นที่ Mukmik ยกเลิกการตอบ